"หลักกฎหมายว่าด้วยองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ" ให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นมาและองค์ประกอบขององค์กรอัยการ อำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ อำนาจดำเนินคดีในศาลของพนักงานอัยการ อำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตลอดจนข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ ทั้งนี้ ผู้เขียนได้ศึกษาความเป็นมาและเหตุผลในการร่างกฎหมายฉบับนี้ในชั้นคณะกรรมการกฤษฎีกาและชั้นรัฐสภาเพื่อให้การอธิบายเนื้่อหาของบทบัญญัติและมาตรามีความสมบูรณ์ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น ประกอบกับตัวอย่างคำชี้ขาดความเห็นแย้งของอัยการสูงสุด คำวินิจฉัยข้อหาหรือสำนักงานอัยการสูงสุด คำพิพากษาศาลฎีกา และคำวินิจฉัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายว่าด้วยองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พร้อมทั้งได้รวบรวมข้อสอบเก่าอัยการผู้ช่วยไว้ด้วย โดยปรับคำถามและคำตอบให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.2553 เพื่อให้ผู้อ่านมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยองค์กรอัยการและพนักงานอัยการอย่างครอบคลุมและเป็นระบบ ทั้งจะเป็นประโยชน์แก่พนักงานอัยการในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและหลักนิติธรรม
หลักว่าด้วยความผิดทางวินัยและโทษทางวินัย กระบวนการดำเนิการทางวินัย การโต้แย้งคำสั่งลงโทษทางวินัย
หนังสือ"สิทธิมนุษยชน : แนวคิดการคุ้มครอง(Human Rights :Conception and Protection) " เล่มนี้ ผู้เขียนมุ่งหมายจะทำการเข้าใจ"สิทธิมนุษยชน" จากการพิจารณามนุษย์ว่าต้องการความชอบธรรมประดารใดสำหรับตนเองและสำหรับการอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม
ความหมายและบทนิยามศัพท์ของวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล,หลักกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ,สถานะทางกฎหมายของคนต่างด้าวในประเทศไทย,การขัดกันแห่งกฎหมายการรับรองและการบังคับตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ
ตำรากฎหมายการคลังฉบับนี้ มีการอ้างอิงข้อมูลและแนวทางกฎหมายหารคลังของประเทศฝรั่งเศสเป็นหลัก โดยมีกฎหมายการคลังของประเทศไทยเสริมเข้าในบางประเด็น เนื้อหาในเล่มจะอธิบายกฎหมายการคลังทั้งในส่วนของการคลังสาธารณะและกระบวนการงบประมาณ ซึ่งผู้เขียนได้ทำดัชนี(Index) ไว้ท้ายเล่มโดยโยงไปยังหมายเลขที่กำกับไว้ย่อหน้าต่างๆ เพื่อสะดวกในการสืบค้น
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจวิชาการด้านกฎหมายการคลังเพื่อเป็นการพัฒนาความรู้ของศาสตร์ดังกล่าวในประเทศไทย รวมทั้งเป็นแหล่งข้อมูลอีกชิ้นหนึ่งที่จะผลักดันให้ระบบการใช้จ่ายเงินของรัฐเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนอย่างแท้จริงต่อไป
บทที่ 1 มรดกและการตกทอดแห่งทรัพย์มรดก- ความหมายของมรดก- การตกทอดแห่งทรัพย์มรดก- ผู้มีสิทธิรับมรดกและการเป็นทายาทบทที่ 2 ส่วนแบ่งมรดกและการรับมรดกแทนที่- การแบ่งมรดกและส่วนแบ่งมรดก- การรับมรดกแทนที่บทที่ 3 การสูญเสียมรดก- การกำจัดมิให้รับมรดก- การตัดมิให้รับมรดก- การสละมรดกบทที่ 4 พินัยกรรม- หลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับพินัยกรรม- แบบของพินัยกรรม- ผลและการตีความแห่งพินัยกรรม- พินัยกรรมหรือข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ไม่มีผลตามกฎหมายบทที่ 5 การจัดการมรดกและปันทรัพย์มรดก- การจัดการมรดก- การรวบรวมทรัพย์มรดกเป็นตัวเงินและการชำระหนี้- การแบ่งมรดก- มรดกที่ไม่มีผู้รับบทที่ 6 อายุความมรดก- การฟ้องคดีมรดกโดยทายาทโดยธรรม- การฟ้องเรียกทรัพย์มรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรมโดยผู้รับพินัยกรรม- การใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ต่อกองมรดก- การใช้สิทธิเรียกร้องภายในกำหนดอายุความ 10 ปี- สิทธิในการยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้
วิชานิติปรัชญาเป็นวิชาหนึ่งที่มีความสำคัญในการศึกษากฎหมาย แต่เนื่องจากการเรียนวิชานี้มีเนื้อหาที่กว้างขวางมากและมักจะศึกษานอกตัวกฎหมาย กล่าวคือ ศึกษาแนวคิดด้านกฎหมายของตะวันตกว่า เขามีทัศนะอย่างไรต่อคำว่า กฎหมาย ใส่วนนี้จึงเป็นเนื้อหาของสำนักแนวคิดทางกฎหมายใหญ่ๆ คือปรัชญากฎหมายธรรมชาติ ปรัชญากฎหมายบ้านเมือง ปรัชญากฎหมายประวัตศาสตร์ ปรัชญานิติศาสตร์เชิงสังคมและสังคมวิทยากฎหมาย เป็นต้น
เนื้อหาที่ปรากฏในเล่มนี้ ประกอบด้วยเรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับปรัชญาได้แก่ ความรู้วิชาและศาสตร์ การแบ่งแยกศาสตร์ ปรัชญา นิติปรัชญา นิติศาสตร์ ปรัชญากฎหมายตะวันตก อาทิ กฎหมายธรรมชาติ กฎหมายบ้านเมือง กฎหมายประวัติศาสตร์ สังคมวิทยากฎหมาย และปัญหารากฐานทางนิติปรัชญา อาทิ เรื่องความยุติธรรม นิติรัฐนิติธรรม การเคารพและการแข็งขืนต่อกฎหมาย เป็นต้น
หลักกฎหมายมหาชน หลักนิติธรรม/นิติรัฐ ในฐานะ "เกณฑ์" จำกัดอำนาจรัฐ เล่มนี้เขียนขึ้นโดยใช้เหตุผลจูงใจ 2 ประการคือ ประการแรก ผู้เขียนต้องรับผิดชอบในการบรรยายวิชาหลักทฤษฎีกฎหมายมหาชน ที่คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ แต่โดยที่ยังไม่มีตำราที่รวบรวมอย่างเป็นระบบ ประการที่สอง โดยที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ของไทยได้เน้นย้ำถึง "หลักนิติธรรม" มากขึ้นกว่าฉบับที่ผ่านมา โดนเฉพาะอย่างยิ่งมีการบัญญัติว่า การตรากฎหมายจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลจะขัดต่อ "หลลักนิติะรรม" มิได้ จากเหตุผลทั้งสองประการดังกล่าว ผู้เขียนเห็นว่า หลักกฎหมายมหาชน ในส่วนที่เชื่อมโยงกับหลักนิติธรรม/นิติรัฐ ยังไม่มีการเขียนไว้อย่างเป็นระบบ จึงถือว่าเป็นโอกาสที่สมควรจะได้รวบรวมและเขียนถึงดังกล่าว หลักกฎหมายมหาชน หลักนิติธรรม/นิติรัฐ ในฐานะ "เกณฑ์" จำกัดอำนาจรัฐ เล่มนี้มิได้เขียนขึ้นใหม่ทั้งหทด แต่เป็นการรวบรวมหลักกฎหมายมหาชน โดยเฉพาะหลักนิติธรรม/นิติรัฐ ที่ผู้เขียนได้เคยเขียนไว้แต่กระจัดกระจายในหนังสือต่างๆ แบะในบทที่ 9 ได้กล่าวถึงการนำหลักกฎหมายมหาชนเข้ามาใช้ในระบบกฎหมายไทยโดยสรุป
ตำราเล่มนี้มุ่งจะนำเสรอเนื้อหาอันเป็นหลักพื้นฐานของกฎหมายปกครองและวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองของไทยในปัจจุบัน เพื่อเป็นการปูพื้นฐายเพื่อนำไปสู่การทำความเข้าใขกฎหมายปกครองอื่นที่มีคความยุ่งยากซับซ้อนและเกี่ยวข้องต่อไป
"สรุปหลักกฎหมายค้ำประกัน จำนอง และจำนำ" เพื่อให้เข้าใจเนื้อหาในภาพรวมได้ง่ายและกระชับยิ่งขึ้น พร้อมทั้งยกตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจอันจะทำให้สามารถสรุปความคิด ให้เกิดความเข้าใจ และนำไปปรับใช้ได้ง่ายขึ้น